วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ก้าวทันมะเร็ง

Comet assayเทคนิคทดสอบสารก่อมะเร็ง และสารกลายพันธ์
เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการตายอันดับต้นๆ ของประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกเนื่องจากการวินิจฉัยกินเวลานานหลายปี ดังนั้น เมื่อตรวจพบโรคก็จะเข้าสู่ระยะแพร่กระจาย (metastasis) ไปแล้ว แต่ปัจจุบันมีเทคนิค Comet assay ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบสารก่อมะเร็งและสารกลายพันธุ์ ที่มีความแม่นยำและยังช่วยลดการนำสารพิษที่ก่อให้เกิดการ
กลายพันธ์เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สามารถพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวได้เป็นผลสำเร็จ
“เทคนิค Comet assay เป็นเทคนิคทดสอบที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ทดแทนการทดสอบฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์และก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง โดยที่ผ่านการทดสอบว่าสารตัวใดมีความเป็นพิษหรือไม่ จะใช้วิธีป้อนสารเหล่านั้นให้สัตว์ทดลอง ซึ่งใช้สัตว์ประมาณ 50 ตัว ใช้เวลานาน 14 วัน และการทดลองในสัตว์ทดลองเราจะไม่รู้กลไกในการเกิด แต่การทดสอบด้วยวิธีนี้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และทราบถึงกลไกในการเกิด ทั้งยังบอกได้ว่าการผิดปกติเกิดขึ้นในระดับใด ซึ่งในอนาคตการทดสอบที่ไม่ซับซ้อนอาจจะใช้สัตว์ทดลองน้อยลง แต่สำหรับการวิจัยทางแพทย์ยังคงต้องใช้สัตว์ทดลองอยู่ เพราะไม่สามารถทดลองในเซลล์เพาะเลี้ยงได้”
“เทคนิคนี้สามารถตรวจวัดการทำลาย DNA ในระดับเซลล์เดี่ยว ๆ และเซลล์จากอวัยวะต่างๆ มีความแม่นยำสูง ใช้เวลาทดสอบสั้นมาก อาศัยการวิเคราะห์ผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ทราบผลได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ทั้งยังเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นประโยชน์ต่อการทดสอบสารปนเปื้อนเพื่อขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบริโภคสารเคมี ลดการกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังนำมาประยุกต์ใช้ได้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น การทดสอบประสิทธิภาพของการใช้ยารักษามะเร็ง งานเฝ้าระวังด้านสุขภาพ งานประเมินการปนเปื้อนของสารพิษในสิ่งแวดล้อม”
ไอระเหยจากน้ำมันเบนซินอาจกระตุ้นความเสี่ยงมะเร็งเม็ดเลือดในเด็ก
ผลการศึกษาขั้นต้นโดยนักวิจัยจาก French National Institute of Health and Medical Research ระบุว่า การสัมผัสไอระเหยจากน้ำมันเบนซินอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดชนิดเฉียบพลันในเด็กรวมทั้งผู้ใหญ่ที่ต้องสูดไอน้ำมันจากการทำงาน
จากการสอบประวัติพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุระหว่าง 2-6 ปี และไม่พบความสัมพันธ์อาชีพของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ ความหนาแน่นของการจราจรในย่านที่อยู่อาศัย และความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเม็ดเลือด
ผลการศึกษาซึ่งรายงานในวารสาร Occupational and Environmental Medicine ยังชี้ว่าเด็กที่บ้านอยู่ใกล้ปั๊มน้ำมันหรืออู่ซ่อมรถกลับมีความเสี่ยงต่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดชนิดเฉียบพลันสูงกว่าเด็กที่อยู่ห่างปั๊มหรืออู่ถึง 4 เท่า
ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาให้ความเห็นต่อการศึกษาครั้งนี้ว่าจำเป็นที่ต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมที่จะสามารถชี้ผลกระทบของเบนซินต่อความเสี่ยงมะเร็งเม็ดเลือดชนิดเฉียบพลัน โดยเฉพาะ ขนาดของไอระเหยจากเบนซินและระยะเวลาที่ได้รับไอระเหยจากน้ำเบนซิน ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะของผู้วิจัยที่เสนอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมที่ใหญ่ขึ้นเพื่อวิเคราะห์อันตรายจากไอระเหยจาก
น้ำมันเบนซินที่อาจมีผลต่อเด็ก
Combo Therapy ยับยั้งมะเร็งในสมอง
นักวิจัยจาก Cedars-Siai Medical Center รายงานในวารสาร Clinical Cancer Reseach ถึงการรักษาด้วยวิธีอิมมูโนบำบัดควบเคมีบำบัด สามารถชะลอการดำเนินโรคและยืดระยะการรอดชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งในสมองชนิด Glioblastoma mulyiforme
รายงานระบุว่า การทำอิมมูโนบำบัดควบเคมีบำบัดสามารถยืดการรอดชีวิตของผู้ป่วยให้ยาวนานถึง 26 เดือนเทียบกับกลุ่มที่รักษาด้วยวิธีอิมมูโนบำบัดอย่างเดียวที่มีระยะการรอดชีวิตเฉลี่ย 18 เดือน และกลุ่มเคมีบำบัดซึ่งเฉลี่ย 16 เดือน
จากการศึกษายังพบว่าผู้ป่วยกว่าครึ่งในกลุ่มที่ได้รับการรักษาควบมีชีวิตรอดนานกว่า 2 ปี ซึ่งอัตราส่วนดังกล่าวสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยอิมมูโนบำบัดหรือเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ในกลุ่มที่ได้รับการรักษาควบยังพบผู้ป่วยที่มีชีวิตรอดเกิน 3 ปี ซึ่งไม่พบในผู้ป่วย 2 กลุ่มหลังเลย
นักวิจัยเปิดเผยว่าในขณะนี้ยังไม่ทราบชัดเจนว่าการรักษาควบมีผลอย่างไรบ้าง แต่ในเบื้องต้นเชื่อว่าอาจเป็นเพราะการทำอิมมูโนบำบัดมีผลมะเร็งอ่อนแอลงทำให้ตอบสนองต่อเคมีบำบัดในขั้นที่สองได้ดี

ไม่มีความคิดเห็น: